Custom Search
 



Heat stroke


นับวันโลกของเราก็มีแต่จะทวีความร้อนแรงเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ทุก ๆ ปี จนบางทีก็อดสงสัยไม่ได้ว่าลูกเล็กเด็กแดงหรือคนหนุ่ม ๆ สาว ๆรุ่นใหม่จะสามารถมีชีวิตอยู่รอดปลอดภัยไปจนกระทั่งแก่เฒ่าได้หรือไม่? ไหนจะน้ำท่วม พายุกระหน่ำ แผ่นดินไหว คลื่นยักษ์ หมอกควัน และมลภาวะต่าง ๆ แถมซ้ำร้ายกว่านั้นโรคภัยไข้เจ็บซึ่งตามมากับสภาพความแปรปรวนของธรรมชาติบางอย่างก็ทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้นเกินกว่าที่เคยเป็นในอดีต ครั้งนี้พวกเราทีมงานท่องเที่ยวดอทคอม (www.thongteaw.com) จึงตัดสินใจค้นคว้าข้อมูลเกี่ยวกับโรคซึ่งทุก ๆ คนควรจะได้ทำความรู้จักและให้ความสำคัญในสภาวะที่โลกกำลังค่อย ๆร้อนขึ้นเป็นลำดับมาฝากไว้ให้อ่านกัน เพื่อที่จะสามารถดูแลและป้องกันตนเองจากโรคภัยไข้เจ็บเหล่านี้ได้อย่างเหมาะสมครับ
     “โรคอุณหพาต (Heat stroke)” เป็นโรคซึ่งพบได้ไม่บ่อยนักแต่เมื่อพบแล้วมีความรุนแรงถึงขั้นที่ผู้ป่วยอาจเสียชีวิตหรือพบกับภาวะแทรกซ้อนอันก่อให้เกิดความทุพพลภาพอย่างถาวรได้ มีสาเหตุจากการที่ระบบควบคุมอุณหภูมิของร่างกายไม่สามารถระบายความร้อนออกได้ทันกับความร้อนที่รับเข้ามาและเกิดขึ้น ทำให้อุณหภูมิภายในร่างกายสูงขึ้นเรื่อย ๆ จนเป็นผลให้การทำงานของระบบต่าง ๆภายในร่างกายล้มเหลว โดยเฉพาะระบบประสาทและสมองจะเป็นระบบที่ไวต่อภาวะนี้มากที่สุด แบ่งตามกลไกการเกิดได้เป็น 2 ชนิด คือ
           
     1. โรคอุณหพาตจากภาวะพร่องสารน้ำและเกลือแร่ : เกิดขึ้นจากการที่ร่างกายสูญเสียน้ำ/เกลือแร่ไปกับเหงื่อมาก ร่วมกับการไม่ได้รับสารน้ำทดแทนในส่วนที่สูญเสียไปอย่างเพียงพอและผู้ป่วยยังคงฝืนทำงานหรือออกแรงต่อไปภายใต้สภาวะแวดล้อมที่มีความร้อนและความชื้นสูง (ข้อสังเกตสำหรับสภาวะที่มีความชื้นในอากาศสูง คือ รู้สึกอบอ้าวเนื่องจากร่างกายระบายความร้อนผ่านทางการระเหยกลายเป็นไอของเหงื่อได้ลำบาก)ผู้ป่วยกลุ่มนี้จะมีอาการแบบค่อยเป็นค่อยไป (slow onset) โดยจะมีลักษณะอาการของ “โรคเพลียแดด (Heat exhaustion)” นำมาก่อน ได้แก่ คลื่นไส้ ,อาเจียน ,อ่อนเพลีย ,ล้า ,กระหายน้ำ ,ผิวหนังเย็น ซีด ชื้น มีเหงื่อออก ,ปวดมึนศีรษะ ,ปวดกล้ามเนื้อ หรือเป็นตะคริว ,อุณหภูมิร่างกายของผู้ป่วยส่วนใหญ่จะยังคงอยู่ในระดับปกติแต่อาจมีผู้ป่วยบางรายที่มีอุณหภูมิร่างกายสูงขึ้นเล็กน้อย (พบผู้ป่วยซึ่งมีอุณหภูมิร่างกายสูงขึ้นเกินระดับปกติได้น้อยมาก) ,ชีพจรอยู่ในเกณฑ์ปกติหรืออาจเร็วขึ้น ,หายใจเร็วขึ้น ,ปริมาณปัสสาวะลดลง ,อาจพบความดันโลหิตสูงขึ้น แต่ยังไม่พบความผิดปกติในระบบประสาทและสมองที่รุนแรงชัดเจน หากอาการของโรคเพลียแดดดังกล่าวข้างต้นไม่ได้รับการแก้ไขอย่างทันท่วงทีก็จะพัฒนากลายไปเป็นโรคอุณหพาตได้

    2. โรคอุณหพาตซึ่งปราศจากภาวะพร่องสารน้ำและเกลือแร่ เกิดขึ้นจากภาวะซึ่งมีการเพิ่มความร้อนขึ้นภายในร่างกายอย่างมากและรวดเร็วจนสามารถเอาชนะกลไกการลดอุณหภูมิแบบเร่งรัดของร่างกายได้ (กลไกการลดอุณหภูมิแบบเร่งรัดของร่างกาย : active heat loss mechanism ได้แก่ การแผ่รังสีออกจากร่างกาย และการระเหยกลายเป็นไอของเหงื่อ) โดยที่ภายในร่างกายยังคงมีปริมาณสารน้ำและเกลือแร่เพียงพอต่อความต้องการของกลไกลดอุณหภูมิ (แต่กลไกการลดอุณหภูมิแบบเร่งรัดไม่สามารถทำงานได้ทันกับปริมาณความร้อนที่เกิดขึ้นอย่างมากและรวดเร็ว) อาการของโรคอุณหพาตชนิดนี้จะเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว (fast onset)โดยไม่มีลักษณะอาการเพลียแดดหรืออาการเตือนอื่น ๆ นำมาก่อน เราสามารถพบอาการผิดปกติต่าง ๆเหล่านี้ได้ในผู้ป่วย “โรคอุณหพาต (Heat stroke)” ส่วนใหญ่ คือ อุณหภูมิของร่างกายสูงขึ้นเกินกว่าระดับปกติ (ในผู้ป่วยส่วนใหญ่มักจะวัดอุณหภูมิของร่างกายได้สูงเกินกว่า 40 องศาเซลเซียส) ,ผิวหนังร้อน โดยที่ผิวหนังอาจจะแดงหรือซีดก็ได้ อาจจะแห้งหรือชื้นก็ได้ อาจจะมีเหงื่อออกหรือไม่มีเหงื่อออกก็ได้ (กรณีเป็นโรคอุณหพาตจากภาวะพร่องสารน้ำและเกลือแร่ผู้ป่วยจะมีผิวหนังซีด ชื้น และมีเหงื่อออก ส่วนกรณีที่เป็นโรคอุณหพาตซึ่งปราศจากภาวะพร่องสารน้ำและเกลือแร่ผู้ป่วยจะมีผิวหนังแห้ง แดง แต่ไม่มีเหงื่อออก) ,ชีพจรเร็ว ,หายใจเร็วและลำบาก ,ปริมาณปัสสาวะลดลง ,เดินเซ ,กระสับกระส่าย ,สับสน ,เห็นภาพหลอน ,พฤติกรรมเปลี่ยนแปลง ในรายที่มีอาการรุนแรงมากอาจถึงขั้นชัก ,หมดสติ ,รูม่านตาขยายกว้าง ไม่ตอบสนองต่อแสง และเสียชีวิตได้ สำหรับโรคอุณหพาตนี้ถือว่าเป็นภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์ ในกรณีที่คุณพบกับผู้ป่วยซึ่งสงสัยว่าจะเป็นโรคอุณหภาตให้รีบแจ้งหน่วยบริการทางการแพทย์ฉุกเฉินทันทีและทำการปฐมพยาบาลเบื้องต้นตามคำแนะนำดังต่อไปนี้

  &n